A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.
เทศกาลกินเจกำลังจะกลับมาอีกครั้งเหมือนเช่นทุกปี ทำให้เมนู “เต้าหู้” จะกลับมาในฐานะอาหารยอดนิยมที่เลอค่าและมากโภชนาการ เพื่อให้คนรักเต้าหู้วัย 50 อัพได้อิ่มท้องอิ่มบุญกันอย่างเต็มที่ สำหรับเพื่อน ๆ เค้าท์อัพบางคนที่ไม่อาจเรียกตัวเองว่าเป็นเต้าหู้เลิฟเวอร์ นี่เป็นช่วงเวลาสำหรับเปิดใจกว้าง สำหรับเนื้อสัมผัสใหม่ รสชาติใหม่ และประสบการณ์ใหม่ ๆ ยิ่งถ้าสิ่งที่พวกเราต้องการคือ อาหารสุขภาพแล้วล่ะก็ เต้าหู้สามารถให้คุณได้มากกว่าที่คิด สำหรับคนวัยเราที่ต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพอาหารการกินมากขึ้น มีเหตุผลมากมายที่สนับสนุนให้คุณควรเลิกยี้ แล้วมาเป็นแฟนตัวยงของทีมเต้าหู้แทน
เริ่มมาจากจีนเมื่อราว 2000 ปีที่แล้ว ก่อนจะถูกนำไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงหลายประเทศในเอเชียที่คุ้นเคยกับเต้าหู้มาเนิ่นนานก่อนที่เต้าหู้จะเป็นที่รู้จักมากขึ้นในโลกตะวันตกในหลายทศวรรษให้หลัง เต้าหู้ทำจากถั่วเหลือง แบ่งออกได้หลากหลายชนิด เช่น เต้าหู้ขาว เต้าหู้เหลือง เต้าหู้หลอด เต้าหู้ทอด เต้าหู้หมัก ฟองเต้าหู้ เต้าหู้ญี่ปุ่น ฯลฯ สามารถนำมาประกอบอาหารได้มากมาย ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน โดยตัวเต้าหู้เองมีรสชาติค่อนข้างอ่อนหรือไม่มีรส ทำให้สามารถนำไปปรุงเพิ่มรสได้หลากหลาย ถ้านำน้ำส่วนเกินออกจากตัวเต้าหู้ให้มากที่สุดก่อนนำไปปรุง ยิ่งจะช่วยให้สามารถดูดซับรสชาติเครื่องปรุงได้ดียิ่งขึ้น
เต้าหู้กินแล้วเฮง ! เต้าหู้หรือโต้วฝุเป็นเมนูมงคลในความเชื่อของชาวจีน อาหารสุดเฮลตี้อย่างเต้าหู้สำหรับคนจีนสื่อความหมายถึง ความมั่งคั่ง ความสุข บุญ ความร่ำรวย การเจริญเติบโต ฯลฯ เพราะฉะนั้น เทศกาลกินเจนี้อย่าลืมกินเต้าหู้ นอกจากสุขภาพดีแล้วยังจะได้เฮง-เฮง-เฮงด้วย
เต้าหู้นับเป็นหนึ่งในอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดในโลก ด้วยมีโปรตีนสูง เต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น ทั้งยังแคลอรีต่ำ โปรตีนในเต้าหู้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด มีธาตุเหล็ก แคลเซียม แมงกานิส และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังมีแมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี และวิตามิน B1 เป็นอาหารย่อยง่าย หารับประทานไม่ยาก เป็นของดีราคาไม่แพงและเต็มไปด้วยประโยชน์
เต้าหู้กับหัวใจ: จากผลการศึกษาปี 2020 ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ของ American Heart Association พบว่า การรับประทานเต้าหู้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 18% เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานเต้าหู้น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง แถมยังมีเหตุผลทางวิชาการระบุว่า เต้าหู้มีประโยชน์ในการลดความดันโลหิต จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองด้วย
เต้าหู้กับไขมัน: เต้าหู้มีประโยชน์ในการลดไขมันเลวหรือคอเลสเตอรอล LDL พร้อมลดไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มไขมันดีหรือคอเลสเตอรอล HDL
จากผลการศึกษาจำนวนมากพบว่า โปรตีนจากถั่วเหลืองลดคอเลสเตอรอล LDL ลงได้ประมาณ 3-4% ในผู้ใหญ่ เต้าหู้ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์อย่างพอประมาณ เพิ่ม HDL หรือคอเลสเตอรอลดี และลด LDL หรือคอเลสเตอรอลไม่ดี
เต้าหู้กับวัยทอง: เต้าหู้และถั่วเหลืองช่วยลดอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ เพราะไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (หรือที่เรียกกันว่าไฟโตเอสโตรเจน) มีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาระดับเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิง
เต้าหู้กับกระดูก: มีผลการศึกษาพบว่า ไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกและเพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกทำให้กระดูกแข็งแรง ทั้งยังมีแคลเซียมและวิตามินดีช่วยเสริมสร้างกระดูก การรับประทานเต้าหู้จะทำให้โรคกระดูกพรุนจากการขาดแคลเซียมเมื่ออายุมากขึ้นเกิดช้าลง
เต้าหู้กับน้ำหนัก: น้ำหนักเกินอยากลด เต้าหู้คือ หนึ่งตัวช่วย เพราะเต้าหู้มีโปรตีนสูง แคลอรีและคาร์โบไฮเดรตต่ำ ทั้งยังไม่มีไขมันอิ่มตัว เต้าหู้จึงทำให้อิ่มได้นานขึ้น ป้องกันความรู้สึกหิวและการกินมากเกินไป
เต้าหู้ได้รับยกย่องให้เป็นสุดยอดอาหารสุขภาพ แต่อีกด้านหนึ่งกลับมีบางข้อกังวลเกี่ยวกับการรับประทานเต้าหู้
บริโภคถั่วเหลืองในปริมาณมากอาจสัมพันธ์กับอัตรามะเร็งเต้านมที่สูงขึ้น !
ข้อกังวลนี้เกิดเนื่องจากมีการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทถั่วมีสารไฟโตเอสโตรเจนที่คล้ายกับเอสโตรเจน ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วอาจสามารถกระตุ้นเซลล์มะเร็งเต้านมได้ แต่ข้อเท็จจริงคือ สารไฟโตเอสโตรเจนนี้มีฤทธิ์ทางฮอร์โมนอ่อนมาก ปัจจุบันไม่มีข้อมูลสรุปชัดเจนว่า ไฟโตเอสโตรเจนในเต้าหู้ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการเป็นโรคมะเร็งเต้านมกับการบริโภคอาหารประเภทถั่ว ผลการศึกษาที่มีทั้งหมดระบุว่า การรับประทานอาหารจากถั่วเหลืองในปริมาณปานกลาง ไม่ส่งผลต่อการเติบโตของเนื้องอกหรือความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ในส่วนความกังวลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) สามารถเลือกเต้าหู้จากถั่วเหลืองออร์แกนิกเป็นทางเลือกได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรรับประทานอาหารอย่างสมดุลและหลากหลาย ยิ่งถ้าเลือกบริโภคเต้าหู้หรืออาหารจากถั่วเหลืองที่ผ่านการแปรรูปเพียงเล็กน้อยยิ่งดี สิ่งสำคัญคือ ต้องตรวจสอบฉลากโภชนาการทุกครั้งเมื่อซื้ออาหารแปรรูป ด้วยเหตุผลดี ๆ มากมายที่ว่ามา ทำให้เทศกาลกินเจนี้ยังไงก็ต้องมี “เต้าหู้”
แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรรับประทานอาหารอย่างสมดุลและหลากหลาย ยิ่งถ้าเลือกบริโภคเต้าหู้หรืออาหารจากถั่วเหลืองที่ผ่านการแปรรูปเพียงเล็กน้อยยิ่งดี สิ่งสำคัญคือ ต้องตรวจสอบฉลากโภชนาการทุกครั้งเมื่อซื้ออาหารแปรรูป ด้วยเหตุผลดี ๆ มากมายที่ว่ามา ทำให้เทศกาลกินเจนี้ยังไงก็ต้องมี “เต้าหู้”
อยากติดตามเรื่องราวดีๆ อย่างต่อเนื่อง กด Like กด Share หรือเขียน Comment ใต้โพสต์ให้เราซักนิด เพื่อเป็นกำลังใจให้ไปต่อ🙏📍มาเป็นเพื่อนกันใน CountUp คอมมูนิตี้แห่งใหม่ที่วัยไม่ใช่ข้อจำกัด จะกิน เที่ยว เปรี้ยว ซ่า ที่ไหน ก็ไปให้สุดกับชีวิตในวัย 50 ได้ทางWebsite : www.countup.lifeLINE Official : https://bit.ly/3VTZsx1YouTube : https://bit.ly/3MKs9rMInstagram : https://bit.ly/3Twg5N0TikTok : https://bit.ly/3KW7zF5LINE OPENCHAT : https://bit.ly/485c0Yv
Share this:
เรื่องล่าสุด
หมวดหมู่