A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.
เพื่อน ๆ CountUp จะเลือกแบบไหน? ถ้ามีกฎหมายอนุญาตให้เราเลือกที่จะ “อยู่” หรือ “ลาโลก” ไปได้ในวัย 75 เหมือนในภาพยนตร์ญี่ปุ่น PLAN 75 “เลือกวันตาย” ของผู้กำกับหญิงหน้าใหม่ จิเอะ ฮายากาวะ ที่ได้รางวัลจากเทศกาลเมืองคานส์ ถูกพูดถึงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมสูงวัยที่น่าขบคิดหลายด้าน เค้าท์อัพเลยขอถอด 4 บทเรียนมุมบวกจากหนัง ที่วัย 50 อัพแบบพวกเราไม่น่าปล่อยผ่าน (ใครยังไม่ได้ดูก็อ่านได้ เข้าใจง่าย ไม่มีสปอยล์)
ภาพจากภาพยนตร์ ขอบคุณ : sahamongkolfilm.com
ขอเล่าย่อ ๆ สำหรับใครยังไม่ได้ดูว่าเรื่องนี้เป็นหนังแนวดราม่าแฟนตาซี ว่าด้วยการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายที่ชื่อว่า Plan 75 ที่จะเปิดให้ผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไปลงทะเบียนเพื่อขอความช่วยเหลือปลิดชีวิตตัวเอง หรือการการุณยฆาต พร้อมรับเงินชดเชยเป็นจำนวนเงิน 1 แสนเยน และสวัสดิการสำหรับใช้ในบั้นปลาย เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุ แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง พร้อมกับสร้างแนวคิดว่าการจากไปครั้งนี้จะสร้างความภูมิใจให้ตัวเองและไม่เป็นภาระลูกหลาน ทำให้เราเห็นมุมมองของผู้สูงวัย คนรุ่นใหม่ และคนนอกที่แตกต่าง ที่สุดท้ายทางเลือกเป็นของทุกคน ที่ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่หมายถึงทุกคนในสังคมด้วย หลังจากหนังฉายออกไป หัวข้อนี้ก็กลายเป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันเป็นอย่างมาก
สำหรับพวกเราที่อยู่ในซีรีส์ของวัยเลข 5 ดูแล้วน่าจะได้แนวคิด ให้ได้ถอดบทเรียนกัน ว่าอย่างน้อยเรายังมีช่วงเวลาที่สวยงาม ทำอะไรได้อีกหลายอย่าง ถ้าอยากเต็มที่กับชีวิต ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ ลองมาดูแนวทางที่เค้าท์อัพได้แนวคิดของการวางแผนใช้ชีวิตในช่วงเลข 5 แบบโลกอิจฉากันเลย
จากไปแบบสร้างความภูมิใจให้ตัวเองและไม่เป็นภาระลูกหลาน หรือ อยู่ต่อไปอย่างไรมีความสุข สุดท้ายทางเลือกเป็นของทุกคน ที่ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่หมายถึงทุกคนในสังคมด้วย
ดีแน่ถ้า 70+ เรายังแข็งแรง ทำงานได้สบาย แต่อย่าลืมว่าวัย 50 การทบทวนแผนเกษียณยังจำเป็นอยู่ โดยข้อมูลที่ต้องใช้ได้แก่ อายุปัจจุบัน อายุเกษียณ และอายุขัย เพื่อประเมินจำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ ซึ่งข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลปี 2564 ได้ประมาณอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยว่าผู้ชายเท่ากับ 73.5 ปี และผู้หญิงเท่ากับ 80.5 ปี ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อมูลเกี่ยวกับอายุของตัวคุณเอง จะสามารถนำไปใช้คำนวณ1. เงินที่จะใช้หลังเกษียณ2. เช็กเงินออมเพื่อเกษียณ3. คำนวณเงินออมหลังเกษียณที่ยังขาดอยู่4. วางแผนออมเงินเพื่อเกษียณเพิ่ม ที่อาจช่วยให้การเริ่มอาชีพในฝันครั้งใหม่ในวัย 50 อย่างไร้กังวลเป็นจริง
อายุ 60 ปี ถ้าอยากมีเงินหลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท (ไม่รวมเงินเฟ้อ 3%) และคาดว่าอาจมี อายุราว 80 ปี อย่างน้อยคุณต้องมีเงินก็บมากกว่า 7.2 ล้านบาทขึ้นไป (240 เดือน X 30,000 บาท ไม่รวมเงินเฟ้อ 3%)
ที่อาจบริหารจัดการได้ด้วยการออมเงิน แล้วนำเงินบางส่วนไปลงทุนในรูปแบบการลงทุนที่เชื่อถือได้เพื่อสร้างรายรับให้งอกเงย
ลองคำนวณเงินเกษียณผ่านโปรแกรมออนไลน์ ลองได้ที่ www.set.or.th/project/caltools/www/html/retirement.html
Preventive Medicine หรือ การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันก่อนป่วย คือ หัวใจการดูแลสุขภาพของวัย 50 ซึ่งถ้าเรายังไม่มีโรคประจำตัว หรืออาการป่วยร้ายแรง ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่วัยเราก็ไม่ควรประมาท เพราะมากกว่าเลือกกินอาหารที่ดี นอนดี ออกกำลังกายตามเหมาะสม ไม่เครียด เรายังต้องไม่ห่างคุณหมอ ตรวจเช็กสุขภาพ เพื่อทั้งป้องกันสร้างเสริมก่อนสาย เพราะอย่าลืมว่า “ร่างกายของเราไม่มีอะไหล่” จากคำแนะนำของหมอแอมป์ นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ BDMS Wellness Clinicพร้อมบอกว่าการลงทุนเพื่อสุขภาพคือความร่ำรวยอย่างแท้จริง เช่น ถ้าคุณมีเงิน 1 ล้านบาทคู่ไปกับการดูแลตัวเองเชิงป้องกัน หากหมดไปแต่คุณยังแข็งแรงก็พอหาเพิ่มไหว ไปต่อได้อีก แต่ถ้าคุณเต็มที่กับความมั่งคั่งโดยไม่ดูแลตัวเอง หลังเกษียณเราอาจต้องใช้เงินไปกับความเจ็บป่วย ที่แลกไม่ได้กับการมีสุขภาพที่ดี เริ่มได้เลยด้วยการเข้านอน 4 ทุ่มคืนนี้ เพื่อให้ Growth Hormone หรือ ฮอร์โมนซ่อมแซมส่วนสึกหรอได้ทำงานเต็มที่ ในช่วง 23.00-01.30 น. นี่เป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่หมอแอมป์บอกกับเราว่าทำง่าย ได้ฟรีๆ
ข้อมูล จาก YouTube.com “เพราะร่างกายของเราไม่มีอะไหล่ by หมอแอมป์” และ “5 เคล็ดลับสุขภาพดี เปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ by หมอแอมป์”
อย่ารอจนนาทีสุดท้าย เพราะไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็สามารถเขียนพินัยกรรม รวมถึง Living Will หรือ พินัยกรรมชีวิต หนังสือแสดงเจตนาเลือกวิธีการรักษาในช่วงสุดท้าย เป็นแนวทางที่ทำขึ้นเพื่อช่วยรักษาสิทธิ์ของผู้ป่วยอีกวิธี โดยในไทยมีกฎหมายรองรับตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ที่เราสามารถเขียนเองได้และแก้ไขภายหลังได้เอง ที่แม้แต่วัยรุ่น วัยทำงานก็หันมาสนใจศึกษาเรื่อง Living Will กันแบบจริงจัง ด้วยเหตุผลที่ว่าการวางแผนให้ตัวเองล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ควรทำในวันที่เราสามารถเลือกได้เอง
เพื่อน ๆ ที่กำลังสนใจศึกษาเรื่องนี้อยู่ นอกจากพินัยกรรมชีวิต ที่เป็นมิติการเตรียมตัวทางการแพทย์แล้ว เพจชีวามิตรยังนำเสนอการเตรียมตัวที่น่าสนใจของการอยู่อย่างมีความหมายและการจากไปอย่างเป็นสุขอีกหลายมิติ เช่น มิติทางจิตใจ สังคม กฎหมาย ไปจนถึงเศรษฐกิจ ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติม
ข้อมูลจาก facebook.com/Cheevamitr และ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่มเติมที่ www.thailivingwill.in.th
ความรู้ต้องแชร์ ไม่แคร์แม้ในวัยเกษียณ ที่ถ้าคุณเอง "มีของ" ไม่ว่าด้านไหน จะงานฝีมือ ออกกำลังกาย ก็สามารถแบ่งปันความรู้สู่โลกโซเชียล
ชวนมาใช้ชีวิตสร้างสรรค์ ภูมิใจกับตัวเอง ส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ด้วยการโค้ชแนวคิด ให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ หรืออาจแค่หากิจกรรมที่ชื่นชอบแล้วลงมือทำ โดยเฉพาะถ้ายังไม่เคยสักครั้ง ยิ่งต้องลองดู รวมถึงออกไปเจอเพื่อนใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้าง Emotional Well – Being หรือ การสร้างความสุขทางอารมณ์ ที่สำคัญไม่แพ้กันกับสุขภาพร่างกาย
หนึ่งตัวอย่าง เต็มที่กับชีวิต พร้อม mindset คิดบวกที่ดีต่อใจ ต้องมี “ครูปุ้ม” อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ผันตัวมาเป็นเจ้าแม่ Tiktok สาขาครูภาษาอังกฤษ ที่เชื่อว่าความรู้ต้องแชร์ ไม่แคร์แม้ในวัยเกษียณ ที่ถ้าคุณเอง “มีของ” ไม่ว่าด้านไหน จะงานฝีมือ ออกกำลังกาย ก็สามารถแบ่งปันความรู้สู่โลกโซเชียล ส่วนใครอยากทำงานอาสาก็สามารถหางานที่เราถนัดได้ที่ volunteerspoirit.org
ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมอาสาเย็บเต้านมเทียมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือจะแพคกระเป๋าไปท่องโลก ก็แค่ปักหมุด แล้วไปเลย อย่าคิดนาน
เมื่อกายพร้อม ใจพร้อม การเงินพร้อม ก็สามารถมองวัยเกษียณในมุมใหม่ แล้วใช้ชีวิตใน “Plan” ที่เราเลือกเอง
อยากติดตามเรื่องราวดีๆ อย่างต่อเนื่อง กด Like กด Share หรือเขียน Comment ใต้โพสต์ให้เราซักนิด เพื่อเป็นกำลังใจให้ไปต่อ🙏📍มาเป็นเพื่อนกันใน CountUp คอมมูนิตี้แห่งใหม่ที่วัยไม่ใช่ข้อจำกัด จะกิน เที่ยว เปรี้ยว ซ่า ที่ไหน ก็ไปให้สุดกับชีวิตในวัย 50 ได้ทางWebsite : www.countup.lifeLINE Official : https://bit.ly/3VTZsx1YouTube : https://bit.ly/3MKs9rMInstagram : https://bit.ly/3Twg5N0TikTok : https://bit.ly/3KW7zF5LINE OPENCHAT : https://bit.ly/485c0Yv
Share this:
เรื่องล่าสุด
หมวดหมู่