A Decrease font size. A Reset font size. A Increase font size.
หนึ่งในหัวข้อที่ร้อนแรงแห่งปี น่าจะหนีไม่พ้น ‘กัญชา’ ซึ่งถ้าถอยกลับไป 40 ปีที่แล้ว พวกเราคงไม่มีใครเชื่อว่ากัญชาที่เรารู้จัก ได้ยินหรือคุ้นเคยจะเปลี่ยนตัวเองจากยาเสพติดในกลุ่มฮิปปี้ กลายเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่วงการแพทย์ทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่า ‘ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้จริง’
แต่วัยเราจะเลือกอะไรมาใช้กับร่างกายก็ต้องระวังมากเป็นพิเศษ ถึงจะเป็นเรื่องสุขภาพ ก็ต้องทำความเข้าใจไว้ก่อน ทำให้ 50 อัพ หลายคนมีคำถามเรื่องกัญชาทางการแพทย์ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มทำความเข้าใจที่ตรงไหน CountUp ขอเริ่มแบบง่าย ๆ กับ 5 คำถามเบสิกให้ทำความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับใครที่เริ่มสนใจหรืออยากใช้กัญชาเพื่อสุขภาพ หรือในเชิงการแพทย์ จะได้ไปต่อให้ถูกทาง
เริ่มต้นมาทำความรู้จักกับสารในกัญชากันก่อน ซึ่งถูกเรียกรวมกันว่า ‘สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) อันที่จริงมันมีมากกว่า 100 ชนิด และยังมีการค้นพบชนิดใหม่เรื่อย ๆ เรียกว่าองค์ความรู้ของกัญชายังไม่หยุดนิ่ง และเดินไปข้างหน้าเสมอ
แต่เบื้องต้นให้ทำความรู้จักสารสำคัญในกัญชาที่มักถูกพูดถึงมี 2 ตัวคือ THC และ CBD ซึ่งอันที่จริงสองชนิดนี้มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกันทุกประการ แตกต่างกันที่สาร THC ทำให้เกิดอาการ ‘เก็ทไฮ’ หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ‘เมา’ หรือ ‘ลอย’ แต่สาร CBD ไม่มีอาการดังกล่าว
แต่เดี๋ยวก่อน! อย่าเพิ่งคิดว่าสาร THC จะอันตรายและควรหลีกเลี่ยง เพราะปัจจุบันนักวิจัยหลายคนเริ่มเห็นตรงกันแล้วว่า สาร THC และ CBD ต่างมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย ขึ้นกับสูตรของยามากกว่า หรือเรียกว่าต้องแท็กทีมกันเพื่อช่วยผู้ป่วยนั่นเอง แต่จากนี้ไปเวลาหมอพูดถึง เราจะได้รู้ว่ามันต่างกันไง
บางคนก็ใช้กัญชาแล้วรู้สึกดี ผ่อนคลาย กินข้าวอร่อย ขณะที่บางคนกลับมึนหัว อยากนอนตลอดเวลา จนแหยงกัญชาไปเลย สาเหตุก็เพราะร่างกายเราไม่เหมือนกันนั่นแหละ
“กัญชาเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลมาก” คือคำอธิบายจากปากของ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอขยายความสิ่งที่คุณหมอพูดนิดนึง เพราะอย่างที่เราบอกไปว่า ในกัญชามีสารแคนนาบินอยด์ ซึ่งวงการแพทย์เพิ่งมาค้นพบไม่นานนี่เองว่า ในร่างกายเราก็สามารถผลิตสารพวกนี้ได้เช่นกัน และเรียกระบบนี้ในร่างกายว่า ‘ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid System: ECS)’
ระบบ ECS ซ่อนอยู่ในแทบทุกส่วนของร่างกาย และที่สำคัญ มันมีส่วนที่เรียกว่า ‘ตัวรับสัญญาณ (Receptor)’ ซึ่งตัวนี้เองที่ทำหน้าที่คล้ายเสารับสัญญาณเมื่อสารแคนนาบินอยด์จากภายนอกเข้ามาในร่างกาย
ที่สำคัญเจ้าตัวรับสัญญาณนี้มันไม่เท่ากันในแต่ละคน ทำให้คนสองคนตอบสนองต่อกัญชาต่างกันนั่นเอง ซึ่งไม่ต้องไปกังวลล่วงหน้าว่าร่างกายเราจะรับได้ไหม เพราะถ้าถูกใช้ในการรักษา แพทย์จะเป็นผู้กำหนดปริมาณและวิธีใช้ให้เรานั่นเอง
ตอนนี้ถ้าไปโรงพยาบาลก็จะสังเกตว่ามีป้ายโฆษณากันมากขึ้นถึงการรับบริการทางเลือกนี้ ขอให้ตั้งหลักกันก่อนว่า กัญชาไม่ใช่ยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรค และสำคัญมากว่าในเชิงการแพทย์ จำเป็นต้องมีงานวิจัยที่มีคุณภาพรองรับ เพื่อให้เกิดความมั่นใจที่สุด ซึ่งตอนนี้เราอาจจะเห็นหลายโรงพยาบาลให้ข้อมูลไว้หลายโรคแต่ขออ้างอิงจากข้อมูลจากรายงานกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงโรคที่มีงานวิจัยรับรองว่ากัญชารักษาได้ ดังนี้
สำหรับโรคอื่น ๆ ที่ตอนนี้มีงานวิจัยรับรองอยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อย่างเช่น
ซึ่งอันนี้ก็ต้องติดตามกันต่อๆ ไป
สำหรับวัยเรา ถ้าใครอยากลองหรือสนใจกัญชาทางการแพทย์ ควรปรึกษาจากแพทย์ในสถานพยาบาลใกล้บ้านก่อน ซึ่งสามารถเข้าไปหาคลินิคใกล้บ้านได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข ด้านล่างนี้
ค้นหาคลินิกกัญชา กระทรวงสาธารณสุข
ในตอนนี้ถึงแม้กัญชาได้เปลี่ยนตัวเองกลายเป็นสมุนไพรแห่งความหวัง ที่นักวิจัยและแพทย์ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างสูง แต่ขอฝากว่า “ถ้าเรื่องข้าวไม่มีใครรู้ดีกว่าชาวนา เรื่องสุขภาพก็ไม่มีใครรู้ดีกว่าหมอ” ดังนั้นวัยแบบเราปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กัญชาดีที่สุด
อ้างอิง:ทำไมแต่ละคนตอบสนองต่อกัญชาต่างกันคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ กรมการแพทย์ พ.ศ.2564 Addiction (Marijuana or Cannabis Use Disorder)A comparison of CBD and THC
อยากติดตามเรื่องราวดีๆ อย่างต่อเนื่อง กด Like กด Share หรือเขียน Comment ใต้โพสต์ให้เราซักนิด เพื่อเป็นกำลังใจให้ไปต่อ🙏📍มาเป็นเพื่อนกันใน CountUp คอมมูนิตี้แห่งใหม่ที่วัยไม่ใช่ข้อจำกัด จะกิน เที่ยว เปรี้ยว ซ่า ที่ไหน ก็ไปให้สุดกับชีวิตในวัย 50 ได้ทางWebsite : www.countup.lifeLINE Official : https://bit.ly/3VTZsx1YouTube : https://bit.ly/3MKs9rMInstagram : https://bit.ly/3Twg5N0TikTok : https://bit.ly/3KW7zF5LINE OPENCHAT : https://bit.ly/485c0Yv
Share this:
เรื่องล่าสุด
หมวดหมู่